การฟื้นฟูทางกายภาพหลังการเปลี่ยนข้อสะโพก

Untitled.pngแ

การฟื้นฟูทางกายภาพหลังการเปลี่ยนข้อสะโพก

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมคือการผ่าตัดเพื่อนำส่วนของข้อสะโพกเดิมที่เสื่อมสภาพ, กระดูกตายหรือแตกหักออก และทดแทนข้อใหม่ด้วยข้อสะโพกเทียม(Prosthesis) เพื่อให้มีการเคลื่อนไหว คล้ายคลึงการเคลื่อนไหวของข้อจริงมากที่สุด

สาเหตุของการปวดข้อสะโพกเรื้อรัง

สาเหตุที่พบบ่อยของการปวดข้อสะโพกเรื้อรัง คือ โรคหัวกระดูกสะโพกขาดเลือด, โรคข้อเสื่อม, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, และโรคข้อเสื่อมจากอุบัติเหตุ

  • โรคหัวกระดูกสะโพกขาดเลือด(Avascular necrosis) เป็นภาวะที่หัวกระดูกสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้หัวกระดูกสะโพกยุบตัวพบบ่อยในคนที่มีอายุประมาณ 30-40 ปี สาเหตุมักเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ยาสเตียรอยด์, อุบัติเหตุกระดูกสะโพกเคลื่อนหรือคอกระดูกสะโพกหักเคลื่อน, และการฉายรังสีบริเวณกระดูกสะโพก
  • โรคข้อเสื่อม(Osteoarthritis) มักเกิดในผู้ป่วยอายุมากกว่าห้าสิบปีและบ่อยครั้งมีประวัติครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อม บางครั้งอาจเกิดจากการกระตุ้นให้ผิวข้อไม่เรียบแต่กำเนิด เมื่อผิวข้อสะโพกที่ไม่เรียบมาเสียดสีกันก็เป็นเหตุให้ปวดข้อสะโพกและมีการเคลื่อนไหวที่ติดขัด
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์(Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ   ก่อให้เกิดอาการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ เกิดได้กับข้อต่างๆทั่วร่างกาย   มีอาการอักเสบแบบเป็นๆหายๆ เกิดการทำลายของผิวข้อ ผู้ป่วยมักมีอาการหลายข้อ ที่พบบ่อยคือข้อนิ้วมือ มักมีอาการข้ออักเสบมาเป็นเวลานาน
  • โรคข้อเสื่อมจากอุบัติเหตุ(Traumatic Arthritis) เกิดตามหลังการบาดเจ็บหรือกระดูกหักบริเวณข้อสะโพกผิวข้ออาจถูกทำลาย หรือเกิดภาวะหัวสะโพกขาดเลือด ทำให้เกิดการปวดสะโพกข้อยึดเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม ในที่สุด
  • โรคคอกระดูกสะโพกหัก (Femoral neck fracture)พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ   โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคกระดูกพรุนที่ประสบอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสะโพก
  • ข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิด(Congenital Hip diseases) เป็นข้อสะโพกเสื่อมที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อสะโพกพัฒนาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่มีอาการเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น

ข้อควรปฏิบัติ.

กิจกรรมที่ต้องหลีกเลี่ยง เช่น หลีกเลี่ยงการไขว้ขา

  • ใช้หมอนแทรกระหว่างขาเวลานอนหลับตอนกลางคืนจนกว่าแพทย์จะอนุญาตว่าไม่ต้องใช้
  • ป้องกันการล้ม โดยใช้ไม้เท้าหรืออุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน จนกว่าข้อสะโพกจะแข็งแรงพอและเคลื่อนไหวได้ดี
  • หลีกเลี่ยงการงอข้อสะโพกมากกว่า 90 องศา เช่นการนั่งยอง ๆ นั่งเตี้ยๆ หรือโน้มตัว ก้มเก็บของจากพื้น
  • ห้ามบิดหมุนเท้าเข้าใน หรือออกนอกมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือ กระโดด เพราะทำให้ข้อหลุดหลวม หรือแตกหักได้
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การดันสิ่งของ และการหมุนตัวอย่างแรง
  • หลี่กเลี่ยงการก้มพร้อมกับยันลงน้ำหนัก เช่น การปีนเขา หรือบันไดที่ชัน

              กิจกรรมที่สามารถทำได้ เช่น การเดินออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ตีกอล์ฟ ขับรถยนต์ ถีบจักรยาน เต้นรำบอลล์รูม และขึ้นลงบันได

ท่าบริหาร

  1. กระดกข้อเท้า

ค่อย ๆ กระดกปลายเท้าขึ้นลง วันละหลาย ๆ ครั้ง   ให้บ่อยที่สุดทุก 5-10 นาที สามารถเริ่มทำได้ทันทีหลังผ่าตัดเสร็จและทำไปเรื่อยๆจนกว่าคนไข้จะ       ฟื้นตัวอย่างเต็มที่

2. หมุนข้อเท้า     Untitled.pngs.png

ขยับหมุนข้อเท้าเข้ามาด้านในและไปด้านนอก     วนเข้าและออกอย่างละ5รอบ ทำซ้ำ 3-4 ครั้งต่อวัน

 

3. งอเข่าบนเตียง      Untitled.pngd.png

ค่อย ๆ เลื่อนสนเท้าเข้าหาสะโพก งอเข่า และยัง วางเท้าไว้บนเตียง อย่าให้เข่าหุบเข้า ทำครั้งละ     10       รอบ วันละ 3-4 ครั้ง

 

4. เกร็งสะโพก      Untitled.pnge 

เกร็งกล้ามเนื้อสะโพกและเกร็งค้างไว้ นับ1-5      ทำครั้งละ 10 รอบ วันละ 3-4 ครั้ง

 

5. กางสะโพก        Untitled.pngff.png

นอนกางขาโดยค่อย ๆ เลื่อนขาออกไปข้างลำตัว ให้กว้างที่สุดเท่าที่จะกว้างได้และเลื่อนกลับ       ทำครั้งละ 10 รอบ วันละ 3-4 ครั้ง

6. ฝึกกล้ามเนื้อต้นขา       Untitled.pngas

กระชับกล้ามเนื้อต้นขาโดยพยายามเหยียดขาตรง เกร็งเข่าค้างไว้ 5-10 วินาที ทำซ้ำ 10 รอบ   ทุก ๆ 10 นาที ทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าต้นขาจะล้า\

7. ฝึกกล้ามเนื้อต้นขา       Untitled.pngdc.png

กระชับกล้ามเนื้อต้นขาโดยพยายามเหยียดขาตรง เกร็งเข่าค้างไว้ 5-10 วินาที ทำซ้ำ 10 รอบ   ทุก ๆ 10 นาที ทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าต้นขาจะล้า

8. ยกขาเหยียดตึง     Untitled.pngzz.png 

กระชับกล้ามเนื้อต้นขาโดยเหยียดขาตรงและ ยกขาสูงประมาณ 1 ไม้บรรทัดจากที่นอน   ยกค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วค่อย ๆ วางลง ทำซ้ำจนกว่าต้นขาจะล้า

9.  ฝึกยืนกลางสะโพก          Untitled.pngsx.png

ยืนตรงให้ สะโพก เข่า ปลายเท้า ชี้ตรงไปข้างหน้า เหยียดขาตรงและกางขาออกไปด้านข้าง         ค่อย ๆ หุบขาลงจนเท้าเหยียบพื้นทำซ้ำ10 รอบ

10.  ฝึกยืนเหยียดสะโพก       Untitled.pngkl

ยกขาที่ผ่าไปด้านหลัง พยายามทำให้หลังตรง   ค้างไว้โดยนับถึง2 หรือ 3 วางเท้าแตะพื้นทำซ้ำ   10 รอบ วันละ 3-4 ครั้ง